ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารงานภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การศึกษา กีฬา ศาสนา
และวัฒนธรรมประเพณี
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารงานภาครัฐ
กลยุทธ์
1.1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของเทศบาล
1.2 ส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ภายใต้
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1.3 บูรณาการ การทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
1.4 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
กลยุทธ์
2.1 ยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการบริการ
2.2 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ยกระดับอาชีพของผู้ประกอบการและประชาชน
2.3 ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์
3.1 การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
3.2 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง
3.3 การพัฒนาและปรับปรุงระบบสาธารณสุข
3.4 การส่งเสริมสนับสนุนงานสังคมสงเคราะห์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการศึกษา กีฬา ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี
กลยุทธ์
4.1 ยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นเลิศได้มาตรฐาน
4.2 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพด้านการกีฬาและดนตรี
4.3 ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
กลยุทธ์
5.1 ปรับปรุงถนนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
5.2 ยกระดับและพัฒนามาตรฐานด้านสาธารณูปโภค
5.3 พัฒนาระบบการป้องกันอุทกภัย
5.4 พัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการจราจร
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์
6.1 สนับสนุน ส่งเสริมให้นครหาดใหญ่เป็นเมืองสีเขียว (Green City)
6.2 บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย
6.3 พัฒนาระบบ
การจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
6.4 รณรงค์ สร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลยุทธ์
7.1 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย
7.2 สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ
ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน เพิ่มศักยภาพการศึกษาและเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต
1. Smart Mobility เมืองที่ประชาชนสามารถเดินทางและติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ
2. Smart living เมืองน่าอยู่ ปลอดภัย มีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาและสาธารสุข
3. Smart People เมืองที่ประชาชนได้รับ การบริการอย่างเท่าเทียมกัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้สูงอายุ รวมถึงมีการเปิดโอกาสให้ทุกคนในเมืองมีส่วนร่วมในบริการต่างๆ และรวมแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการเมือง
4. Smart Economy เมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ
5. Smart Environment เมืองประหยัดพลังงาน มีพื้นที่สีเขียว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษต่างๆ
6. Smart Energy เมืองที่สามารถบริหารจัดการ ด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุล ระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก
7. Smart Governance เมืองที่บริหารจัดการอย่างโปร่งใส มีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ